วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มลพิษทางน้ำ (Water Pollution)

มลพิษทางน้ำ (Water Pollution)
สารมลพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1. จุลินทรีย์ (Micro-Organisms) น้ำเสียที่ปล่อยจากโรงพยาบาลหรือจากแหล่งชุมชน รวมถึงการปล่อยน้ำสิ่งปฏิกูลจากถังส้วม เป็นสาเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ ได้ ซึ่งของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นพวกจุลินทรีย์และอาจมีไข่พยาธิต่างๆ ปนอยู่ด้วย

2. สารมีพิษ (Toxic Agents) เป็นสารที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท แคคเมี่ยม ตะกั่ว และพวกสารประกอบอินทรีย์บางชนิด เช่น ไซยาไนต์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

3. สารอินทรีย์ (Organic Matter) เป็นมลสารสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ สารอินทรีย์แบ่งออกได้เป็น สารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ และถูกย่อยสลายไม่ได้ สารอินทรีย์ประเภทที่ย่อยสลายได้อาจทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เนื่องจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ต้องใช้ก๊าซออกซิเจนละลายน้ำ และถ้ามีการปล่อยของเสียที่มีอินทรีย์สารลงไปน้ำ ในปริมาณมากก็จะทำให้แหล่งน้ำเกิดสภาวะขาดออกซิเจน ทำให้น้ำเน่าเสียได้

4. สารอาหารของพืชน้ำ ที่สำคัญได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส (Nitrogen and Phosphorus Compounds) ถ้าแหล่งน้ำได้รับการปนเปื้อนของสารประกอบ เรียกว่า ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)โดยเป็นตัวปิดกั้นการถ่ายเทอากาศทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

5. ความร้อน การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอุณหภูมิสูงและน้ำเสียจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าหรือน้ำหล่อเย็นของเครื่องจักรกลต่างๆ ที่มีอุณหภูมิสูง ลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์น้ำ ส่งผลกระทบต่ออัตราการย่อยสลายทางชีววิทยา ระดับการ อิ่มตัวของก๊าซออกซิเจน และอัตราการเติมอากาศในน้ำ (Reaeration) เปลี่ยนไป


ที่มา http://www.human.cmu.ac.th/~hc/ebook/006103/lesson4/03.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น